วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

ประวัติส่วนตัว


ชื่อ : นาย ชัยวัฒน์ เจริญรัมย์ ชั้น ม.6/2   เลขที่ 41
อายุ : 17 ปี       ชื่อเล่น : เจ้าน้อย
วัน/เดือน/ปี เกิด : 29 เมษายน พ.ศ. 2540
กรุ๊ปเลือด : B
สัญชาติ : ไทย 
เชื้อชาติ : ไทย
ศาสนา : พุทธ 
ภมิลำเนา : 45 หมู่10 บ้านหนองตระเสก ตำบลกระสัง อำเภอกระสัง จังหวัด
                 บุรีรัมย์ 31160
ครูที่ปรึกษา :  1. ครู อิสรีย์   วงคง
                      2. ครู ศุภาพิชญ์   นะรารัมย์
อาชีพในฝัน : นักบิน,หมอ,ครู,ตำรวจ
การศึกษา : จบมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนกระสังพิทยาคม
            ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2
มหาวิทยาลัยที่อยากเรียนต่อ : มหาวิยาลัยทหารราชกะบาง
วิชาที่ชอบ : ฟิสิกส์,คณิตศาสตร์,ศิลปะ
วิชาที่ไม่ชอบ : ภาษาไทย
อาหารที่ชอบ : ข้าวผัด
สีที่ชอบ : สีเเดง,สีนำเงิน
สัตว์ที่ชอบ : สุนัข
สิ่งที่รัก : พ่อ,แม่
ภาพยนต์ที่ชอบ :แฮร์รี่ พอตเตอร์
เพลงที่ชอบ : ลมหายใจเดียวกัน
งานอดิเรก :  ฟังเพลง อ่านหนังสือ
สถานที่ที่อยากไป : เกาะพีพี
เพื่อนสนิท :  1. นาย ยงยุทธ ศิริสำราญ
                    2. นาย ศราวุธ ก่ำรัมย์
                    3. นาย ณัฐนันท์ ชอบรู้
คติประจำใจ : ทำวันนี้ให้ดีที่สุด
อีเมล : chaiwad54@gmail.com

โทรศัพท์ : 093-4157-269
แผนที่บ้าน

วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

หัวไชโป้ว

ดาวน์โหลด (4)       

 images (15)
หัวไชโป้ว(Pickle turnip) หรือ หัวไชเท้าดองเป็นอาหารอีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมรับประทานกันมา ทั้งยังสามารถเก็บไว้บริโภคได้นานทั้งปี หัวไชเท้าดองมีด้วยกัน 2 ชนิด คือ หัวไชโป้วดองเค็ม และ หัวไชโป้วหวานอาหารที่นิยมใช้หัวไชโป๊วมาเป็นส่วนประกอบได้แก่ หัวไชโป๊วดองเค็มผัดกับไข่ ไข่เจียวไชโป๊ว และในหน้าร้อนคนไทยนิยมรับประทานข้าวแช่ ซึ่งก็มีหัวไชโป๊วผัดหวานเป็นเครื่องเคียงด้วยเช่นกันหัวไชโป๊ว มีสรรพคุณ ล้างพิษ ขับพิษในร่างกาย ช่วยให้เจริญอาหาร แถมยังช่วยให้นอนหลับง่ายอีกด้วยผักกาดหัวหรือหัวไชเท้า (Raphanus sativus Linn) เป็นพืชพื้นเมือง ของเอเชีย นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย เนื่องจากเป็นพืชที่ ปลูกง่าย เติบโตเร็ว แต่มีข้อเสียว่า เมื่อถึงกำหนดเก็บเกี่ยวแล้วจะต้องถอน หัวขึ้นมาทันที เพราะหากปล่อยไว้จะทำให้หัวฟ่าม ขายได้ราคาต่ำ เหตุนี้จึง ทำให้เกษตรกรต้องรีบขายหัวผักกาดนี้ไปโดยเร็ว ถึงแม้จะได้ราคาน้อย ก็ตามการแปรรูปผักกาดหัวให้เป็นผักกาดเค็ม ผักกาดดองหวานที่เรียกว่า หัวไชโป๊ว เป็นวิธีถนอมอาหารอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้เกษตรกรไม่จำเป็นต้องรีบ ขายหัวผักกาดสดให้แก่พ่อค้าไปในราคาถูก หัวผักกาดเค็มเป็นอาหารอีก ชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมรับประทานกันมาก และยังสามารถเก็บไว้บริโภคได้ ทั้งปีหลังจากที่เหลือจากการจำหน่ายแล้ว
อุปกรณ์และวิธีทำวัตถุดิบ 
1. หัวผักกาด หัวผักกาดที่เหมาะในการทำหัวผักกาดเค็ม ควรจะ เป็นหัวผักกาดที่ยังใหม่ อ่อนและสด ควรเป็นพันธุ์หนักเพราะเป็นพันธุ์ที่มี เนื้อแน่น เมื่อแปรรูปแล้วจะได้หัวไชโป๊วที่มีลักษณะตรงกับความต้องการของ ตลาด เก็บเกี่ยวในช่วงอายุระหว่าง 42-48 วัน หลังปลูก
2. เกลือ
3. น้ำสะอาด
อุปกรณ์
 1. มีด
2. ภาชนะ เช่น ไห อ่างหรือขวด สำหรับบรรจุหัวผักกาดเค็ม
3. กระด้ง
4. ถุงผ้าวิธีทำ 
ก. การทำหัวผักกาดเค็ม
1. นำหัวผักกาดมาตัดขั้วหัวท้ายออก ล้างดินออกให้ สะอาด
2. เมื่อสะเด็ดน้ำแล้วนำไปผึ่งแดดนาน 6-8 ชั่วโมง
3. นำหัวผักกาดมาคลึงกับเกลือบนตะแกรงหรือกระด้งพอ ผิวช้ำอมเกลือทั่ว
4. หมักหัวผักกาดลงใส่อ่างทิ้งไว้ 1 คืน รุ่งขึ้นจึงโรยเกลือ ให้ทั่วแล้วนำไปผึ่งแดดตลอดวัน
5. ตอนเย็นเก็บใส่ถุงผ้าหนา ๆ หรือกระสอบ ทับด้วยของ หนัก ๆ ให้น้ำตก
6. รุ่งเช้านำไปผึ่งแดดอีกครั้งหนึ่ง ทำซ้ำ ๆ จนหัวผักกาดมี สีคล้ำจึงหยุดไม่ใส่เกลือและน้ำ เพียงแต่ผึ่งแดดต่อไปจนเป็นสีน้ำตาลแก่ ใช้ระยะเวลาประมาณ 7 วัน
7. นำหัวผักกาดที่ได้นี้บรรจุใส่ไหหรือขวดที่นึ่งแล้ว ปิดฝา อัดแน่นให้เรียบร้อย ถ้าชอบให้มีรสหวานให้ใส่น้ำตาลปี๊บและใส่น้ำพอสมควรนำลงเคล้าผสมด้วย หลังจากเก็บไว้ 7 วัน สามารถนำมาบริโภค หรือเก็บไว้บริโภคได้ทั้งปี
ข. การทำหัวผักกาดดองหวาน
1. นำหัวผักกาดที่ทำเค็มแล้วอย่างชนิดหัวเล็กมาแช่น้ำสาร ส้มประมาณ 2 ชั่วโมง
2. เตรียมน้ำเชื่อม อัตราส่วนน้ำเชื่อม 1 ส่วนต่อผักกาดหัว สองส่วน น้ำเชื่อมนี้ควรใส่ใบเตยหรือน้ำกาแฟเล็กน้อย
3. นำขึ้นผึ่งให้สะเด็ดน้ำแล้วใส่ไห
4. ใส่น้ำเชื่อมที่ตั้งทิ้งไว้ให้เย็นแล้วลงไปในไหจนท่วมหัว ผักกาด แช่ทิ้งไว้ประมาณ 10-15 วัน
5. นำขึ้นผึ่งให้สะเด็ดน้ำ แล้วบรรจุถุงจำหน่ายหรือไว้ใช้ รับประทานต่อไป
ค. การทำหัวผักกาดแก้ว
1. ล้างหัวผักกาดให้สะอาด ปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นยาวพอ ประมาณ
2. แช่น้ำปูนใสประมาณ 1 ชั่วโมง ตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำ เคล้า เกลือให้ทั่วแล้วหมักไว้นาน 2 ชั่วโมง นำใส่ถุงผ้าหาของหนัก ๆ ทับให้น้ำตก
3. วันรุ่งขึ้นใส่ตะแกรงผึ่งแดดพอหมาด ๆ แดดเดียวก็พอ
4. ต้มน้ำปลา 1 ขวด กับน้ำตาลทราย 12 ช้อนโต๊ะเคี่ยว ให้เดือด ทิ้งไว้จนเย็น
5. นำน้ำปรุงรสนี้เทใส่ลงบนหัวผักกาดผึ่งแดดที่ได้จัดเรียง ไว้ในภาชนะจนท่วม
6. อุ่นน้ำปรุงรสทุกวัน ทิ้งไว้จนเย็นแล้วจึงนำหัวผักกาดแช่ ลงไปใหม่ ทำเช่นนี้ทุกวันจนครบ 15 วัน จึงนำมารับประทานได้การที่อุ่นน้ำปรุงรสทุกวันเพื่อป้องกันการบูดเน่า การแปรรูปหัวผักกาดนี้นับว่าเป็นประโยชน์กับเกษตรกรอย่างมาก ทำให้เกษตรกรไม่จำต้อง รีบขายผักกาดหัวให้แก่พ่อค้าคนกลางในราคาที่ไม่เป็นธรรมอีกต่อไป

ไชโป๊วหวานผัดไข่

ส่วนประกอบ

  • หัวไชโป๊วหวานหั่นเป็นเส้น 100 กรัม
  • ไข่ 2 ฟอง
  • น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ
  • คนอร์อร่อยชัวร์ 1 ช้อนชา
  • กระเทียมบุบ หรือหอมแดงซอย 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

  • ตั้งกระทะน้ำมันบนไฟกลางจนร้อน ใส่กระเทียมหรือหัวหอมแดงลงไปเจียวให้หอม
  • ใส่ไชโป๊วลงไปผัดให้เข้ากัน พอให้เส้นไชโป๊วสุกพอง ปรุงรสด้วยคนอร์อร่อยชัวร์ ตามด้วยน้ำตาลทราย โดยค่อยๆ ใส่ ชิมดูให้ได้รสชาติตามต้องการ
  • จากนั้นใส่ไข่ลงไปตรงกลาง พอสุกกลับไข่อีกด้าน (ไข่ขาวไข่แดงไม่ถึงกับรวมเป็นเนื้อเดียวกัน)
  • แล้วผัดกลับไปกลับมาจนไข่สุก จัดใส่จานพร้อมเสิร์ฟได้
  • หมายเหตุ ไชโป๊วที่นำมาผัดควรชิมรสชาติก่อนว่าหวานเค็มมากน้อยแค่ไหน เพราะแต่ละยี่ห้อรสชาติจะไม่เหมือนกัน ถ้าเค็มมากให้ล้างน้ำสัก 1 ครั้งบีบน้ำออกให้แห้ง และชิมดูว่ารสชาติหวาน เค็มมากน้อยแค่ไหน เผื่อตอนปรุงจะได้ไม่จัดเกินไป


ไชโป๊ หรือ หัวไชโป๊ เป็นผักกาดหัวดอง มีสองแบบคือดองเค็มซึ่งเป็นการโรยเกลือสลับกับผักกาดหัวเป็นชั้นๆ ทับด้วยของหนัก ใช้เวลาประมาณ 10 วัน อีกแบบคือใชโป๊หวาน นำหัวผักกาดมาตากแดดตอนกลางวัน ตอนกลางคืนเรียงในบ่อ โรยเกลือสลับ ทำสลับระหว่างตากแดดและหมักเกลือ 5-6 วัน จึงนำไปดองแบบดองเค็ม ตากแดด 3-4 แดด จากนั้นโรยน้ำตาลทรายแดง ผงโป๋ยกั๋ก เหล้าจีน ขยำให้เข้ากัน อัดใส่ไหหมักไว้ 1 เดือน ไชโป๊นี้ทำอาหารได้หลายชนิด เช่น ใส่ไข่เจียว ยำกับพริก มะนาวดอง ใส่ในผัดไทยและก๋วยเตี๋ยวชากังราว











ที่มาhttp://www.tistr.or.th/t/publication/page_area_show_bc.asp?i1=76&i2=36

      http://th.wikipedia.org/
      
       www.google.co.th/

วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

          
  ไทรทอง





ชื่อวิทยาศาสตร์:    Ficus microcarpa L.f. cv. Golden Leaves

ชื่อวงศ์:                 MORACEAE

ชื่อท้องถิ่น:           ไทรทอง

ลักษณะวิสัย:       ไม้ต้น

ลักษณะทั่วไป :    เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ไม้ต้นสูงประมาณ 10 - 150 เมตร ใบออกหนาแน่นเป็นมัน ทำให้ทรงพุ่มหนาทึบ ลักษณะกิ่งค่อนข้างแข็ง มีรากอากาศ ออกดอกตามลำต้นใบรีรูปไข่  ปลายใบแหลม หลังใบจะมีสีเขียวเข้ม ส่วนใบด้านบนและปลายยอดมีสีเหลืองทอง ใบหนาค่อนข้างแข็ง

ก้าน :                    ก้านมีลักษณะกลม

ใบ :                      ใบมีขนาด 5-10 เซนติเมตร ใบหนาเป็นมัน รูปไข่กลับ โคนใบและปลายใบแหลมขอบใบเรียว ใบอ่อนสีเหลือง ใบแก่สีเขียวเข้ม ไม่มีผล ยอดมีสีเหลืองเข้ม มียางขาว

์ดอก :                    ออกดอกตามลำต้น

ประโยชน์ :            ใช้ตกแต่งสถานที่ และประดับสวน ประดับน้ำตก หรือปลูกตามชาย้ำ

การขยายพันธุ์:      ปักชำ

การกระจายพันธุ์ : ชอบขึ้นในที่แจ้ง

ไทรทอง 

หรือ กร่าง หรือ ลุง (ชื่อวิทยาศาสตร์Ficus altissima) เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ในวงศ์ Moraceae มีความสูงประมาณ 2.5-3 เมตร มีพูพอน เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทาแตกกิ่งกระจายรอบต้น พุ่มทรงกลม ค่อนข้างหนาทึบ มีน้ำยางสีขาว รากอากาศเหนียว ใบเป็นแบบเดี่ยวทรงรูปไข่ กว้าง 10 เซนติเมตร ยาว 18 เซนติเมตร สีเขียวเข้ม มีหูใบหุ้มยอด ใบอ่อนสีเขียวสดเป็นมัน หูใบหุ้มยอดอ่อนไว้ ดอกช่อไม่มีก้านดอก โคนช่อดอกมีใบประดับขนาดเล็ก 3 ใบรองรับช่อดอก ผลเมื่อสุกแล้วอ่อนนุ่ม สีเหลือง แต่ละผลมีเนื้อบาง ๆ และมีเมล็ด 1 เมล็ด

เป็นไม้ที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เชื่อว่าเป็นไม้มงคล นอกจากนี้แล้ว ยังมีประโยชน์อย่างอื่น คือ รากอากาศของต้นกร่างเหนียวใช้ทำเชือกได้ เปลือกชั้นในใช้ทำกระดาษ ต้นใช้เลี้ยงครั่งต้นไทรในความคิดของคนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงต้นไม้ขนาดใหญ่ที่สูงเป็นสิบๆเมตร นั่นก็เป็นต้นไทรประเภทหนึ่ง ในปัจจุบันได้มีการนำเอาต้นไทรมาใช้ประกอบการจัดสวนหรือนำมาใช้ทำรั้วต้นไม้ ข้อดีของไทรประดับคือ เมื่อนำมาทำรั้วแล้ว จะเป็นรั้วต้นไม้ที่ให้ความเป็นส่วตัวได้ดีกว่าพรรณไม้อื่นๆ เช่น แก้ว โมก คริสติน่า เนื่องจากมีความหนาแน่นของกิ่งและพุ่มมากกว่า อีกทั้งยังสามารถตัดแต่งให้มีความสูงเทียบเท่ากับกำแพงปูนปกติได้

รู้จักกับไทร

ไทรเป็นพืชในสกุล Ficus ซึ่งเป็นพรรณไม้ที่ต้องการแสงแดดจัด น้ำปานกลาง ไม่มากไม่น้อย จึงสามารถพบได้ทัวไปตามแนวเขตพื้นที่ร้อนชื้น อย่างเช่นประเทศไทย และในทางกลับกัน พื้นที่ร้อนชื้นก็เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของไม้ชนิดนี้อีกด้วยพืชในสกุลนี้ล้วนแล้วแต่มีอายุยืนยาวมาตั้งแต่ 20-40 ล้านปีแต่แม้จะมีการรู้จักกันมายาวนาน แต่ในอดีตไม่ค่อยนิยมนำไม้ดังกล่าวมาปลูกตามบ้านเรือน เนื่องจากส่วนมากไม่ใช่ไม้ผล และไม่ได้เป็นพืชที่มีนามมงคลหรือมีความเชื่อชักนำให้นำมาปลูกไว้ในบ้านอย่างไรก็ตามในปัจจุบันการปรูกพรรณไม้ดังกล่าวได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสามารถนำมาตกแต่งสถานที่ โดยส่วนมากเป็นการนำมาประดับตกแต่งภายนอกบ้าน ในสวน หรือริมรั้ว เป็นต้น

 

ไทรเกาหลี

มีลักษณะเป็นไม้พุ่มทรงสูง ทรงพุ่มค่อนข้างแน่น ตัวพุ่มประกอบไปด้วยสีเขียวสดที่เรียงตัวซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดความสูงได้ประมาณ 5-6 เมตร ใบมีสีเขียวเข้มจัดรูปทรงค่อนข้างเรียว ใบมัน และมียางสีขาว ลำต้นสีน้ำตาลลอมเทา ตามกิ่งจะมีรากอากาศห้อยย้อยลงมา ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับต้นไทรชนิดอื่นๆด้วยความที่ทรงพุ่มของไทรเกาหลีเป็นพุ่มแน่นทึบ ประกอบด้วยใบไม้เรียงตัวซ้อนกันหลายชั้น จึงกันแสงแดดและฝุ่นละอ่องได้ดีเหมาะนำมาปลูกกั้นเพื่อแบ่งพื้นที่ นอกจากนั้นข้อดีอีกอย่างหนึ่งของไทรชนิดนี้คือ มีความแข็งแรงทนทาน ดูแลรักษาง่าย ไม่ค่อยมีโรคหรือแมลง สามารถเติบโตได้ดีในดินธรรมดา

ไทรเกาหลี

ไทรเกาหลี

ไทรอินโด

ไม้พุ่มใบสีเขียวเข้ม ตัวใบค่อนข้างกลม ผิวใบมันขอบเรียบ ใบและกิ่งก้านเรียงตัวซ้อนกันหนาแน่น นิยมนำมาตัดแต่งพุ่มให้เป็นรูปทรงต่างๆ หรือนำมาทำเป็นแนวกั้นรั้วกำแพงบ้าน เนื่องจากการนำไทรอินโดมาปลูกไว้เป็นแนวนั้นช่วยสร้างกำแพงสีเขียวได้ทันตาเห็นเลยทีเดียวไทรอินโด

ไทรอินโด

ไทรทอง

ไทรทองเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ สูง 2.50-3 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทา แตกกิ่งกระจายรอบต้น ทรงพุ่มกลม ค่อยข้างหนาทึบ ใบอ่อนสีเขียวสดเป็นมัน มีน้ำยางสีขาว ในการจัดสวนไม่นิยมปลูกไทรทองเป็นไม้ยืนต้น จะใช้ปลูกเป็นไม้พุ่มตามทางเดินมากกว่า เนื่องจากทรงพุ่มแน่น มีสีสันไทรทองไทรทอง


ไทรทอง

ไทรทอง


ไทรใบกลม

มีอืกชื่อว่า “ไทรญี่ปุ่น” ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-2 เมตรไม่ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลมแผ่นกว้าง เปลือกสีน้ำตาลกิ่งก้านห้อยย้อยลง นิยมนำมาเสียบยอดขายเป็นไม้กระถาง และนำไปทำเป็นบอนไซ ไทรชนิดนี้มีผิวสัมผัสใบที่ดูเป็นกราฟิกสวยงาม ถือเป็นไทรมีราคาที่นักสะสมพรรณไม้นิยมมีไว้ครอบครอง
ไทรใบกลม

ไทรใกลม

การดูแลรักษาไทรประดับ
  • แม้ไทรประดับทุกชนิดจะเติบโตง่ายไม่ต้องดูแลใส่ปุ๋ยกันเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตามการตัดแต่งพุ่มไทรบ่อยๆก็มีความจำเป็น เนื่องจากพรรณไม้ชนิดนี้ค่อนข้างโตเร็ว จึงควรตัดแต่งกิ่งก้านของต้นไทร อยู่ประจำทุก 3-6 สัปดาห์ เพื่อไม่ให้แตกกิ่งก้านที่มากและยาวเกินไป ทำให้กำแพงพุ่มไม้ดูรกและไม่เป็นระเบียบ และการทิ้งไว้นานอาจทำให้การตัดแต่งต้นครั้งต่อไปทำได้ยากลำบากยิ่งขึ้น
  • ไทรเป็นพืชปลูกเลี้ยงง่าย ชอบดินร่วนระบายน้ำดี มีแสงแดดครึ่งวันหรือตลอดวัน บางชนิดสามารถเติบโตในที่มีน้ำท่วม ดินแฉะขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง ปักชำกิ่ง
  • พืชสกุลไทรจะมีบบบรากที่แข็งแรงมาก และระบบรากใต้ดินสามารถแผ่ไปได้บริเวณกว้าง จึงอาจทำลายโครงสร้างของสิ่งปลูกสร้าง บ้านเรือนหรืออาคารต่างๆเสียหายได้ เช่น รากที่เจริญผ่านเข้าไปในเสาเข็มของตัวอาคาร อาจทำให้อาคารทรุดตัวลง ดังนั้นจึงไม่ควรปลูกไว้ใกล้กับสิ่งปลูกสร้างชนิดอื่นระยะ 1-2 เมตร



  • ความสูงของต้นที่นิยมมาใช้ทำเป็นกำแพงกั้นริมรั้ว คือประมาณ 2-3 เมตร และจะใช้ต้นไทรเกาหลีประมาณ 10 ต้นต่อความยาวรั้ว 3 เมตร ต้นไทรเกาหลีเป็นต้นไม้ที่ต้องการแสงแดดจัด จึงควรนำมาปลูกกลางแจ้ง ไม่ควรนำไปปลูกไว้ในร่มหรือในบ้าน เพราะจะทำให้ต้นแตกกิ่งก้านและผลิใบน้อยลง ไม่เติบโตเท่าที่ควร





อ้างอิง



จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี www.wikipedia.org/wiki/ไทรทองนางสาว อรทัย ภู่พิพัฒน์, นางสาว พอแก้ว รักษ์เธียรมงคล, นางสาว ศานิตา อัศวศรีวรกุล, http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6/BotanicalGarden/saithong.html
http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp?npid=22